วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

                สำนวนไทยและรูปภาพประกอบ


                     
                                                                  สีซอให้ควายฟัง


                           
                                                                      กบในกะลา

                  

                                      ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่

                     
                                                             
                                           ขี่ช้างจับตั๊กแตน












สำนวนไทยในหมวดต่างๆ


        หมวด ก.
                    
                             กบในกะลาครอบ - ผู้มีประสบการณ์และความรู้                           
                                 น้อยแต่สำคัญตนว่ามีความรู้มาก  
                        กรวดน้ำกะลา, กรวดน้ำคว่ำขัน – ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย
                         กระเชอก้นรั่ว – สุรุ่ยสุร่าย, ไม่รู้จักเก็บหอมรอมริบ, ไม่ประหยัด
                           กระดังงาลนไฟ – ผู้หญิงที่เคยแต่งงานหรือผ่านผู้ชายมาแล้ว    
                                 ย่อมรู้จักชั้นเชิงทาง  
                   และเอาอกเอาใจผู้ชายได้ดีกว่าผู้หญิงที่ยังไม่เคยแต่งงาน


หมวด ข.
             
ขนทรายเข้าวัด – หาประโยชน์ให้ส่วนรวม
                     ขนมผสมน้ำยา – พอดีกัน จะว่าข้างไหนดีกว่ากันไม่ได้
                  ขนหน้าแข้งไม่ร่วง – ไม่กระทบกระเทือนถึงเดือดร้อน
                                       ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า – บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทำตามที่ตนต้องการ
                    ขว้างงูไม่พ้นคอ – ทำอะไรแล้วผลร้ายกลับมาสู่ตัวเอง

หมวด ค. , ฆ.
 
 คดในข้อ งอในกระดูก – มีสันดานคดโกง
                                  คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ – คนรักมีน้อย คนชังมีมาก
                           คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ – คนรักมีน้อย คนชังมีมาก
                                       คมในฝัก – มีความรู้ความสามารถ แต่เมื่อยังไม่ถึงเวลาก็ไแสดงออก                 
หมวด ง. , จ.
             
 
งมเข็มในมหาสมุทร – ทำกิจที่สำเร็จได้ยาก
                     งอมืองอตีน – เกียจคร้าน, ไม่สนใจขวนขวายการทำงาน
                   เงยหน้าอ้าปาก – มีฐานะดีขึ้นกว่าเดิมพอทัดเทียมเพื่อน
หมวด ช. , ซ.

                   
ชนักติดหลัง – ความชั่วหรือความผิดที่ยังติดตัวอยู่
ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน – ชักนำศัตรูเข้าบ้าน
ชักใบให้เรือเสีย – พูดหรือทำขวาง ๆ ให้การสนทนาหรือการงานเขวออกนอกเรื่องไป
ชักแม่น้ำทั้งห้า – พูดจาหว่านล้อมยกยอบุญคุณเพื่อขอสิ่งที่ประสงค์
ชักหน้าไม่ถึงหลัง – มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย
ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม, ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม – ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ทำแล้วจะสำเร็จผล


หมวด ฒ. , ด.
                   
เฒ่าหัวงู – คนแก่หรือคนมีอายุมากที่มีเล่ห์เหลี่ยมหรือกลอุบาย หลอกเด็กผู้หญิงในทางกามารมณ์
      ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่, ดูวัวให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ – ให้รู้จักพิจารณาลักษณะบุคคลหรือผู้หญิงที่จะเลือกเป็นคู่ครอง
เด็ดดอกไม้ร่วมต้น – เคยทำบุญกุศลร่วมกันมาแต่ชาติก่อน จึงมาอยู่ร่วมกันในชาตินี้
เดินตามหลังผู้ใหญ่ หมาไม่กัด – ประพฤติตามอย่างผู้ใหญ่ย่อมปลอดภัย


หมวด ต.
  
ตกกระไดพลอยโจน – จำเป็นที่จะต้องยอมเข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่มีทางเลี่ยง
ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ – ตกอยู่ในที่คับขันอย่างไรก็ไม่เป็นอันตราย
ตบมือข้างเดียวไม่ดัง – ทำอะไรฝ่ายเดียวไม่เกิดผล
ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา – ให้รู้จักฐานะของตนและเจียมตัว
ตัดช่องน้อยแต่พอตัว – เอาตัวรอดแต่ผู้เดียว

หมวด ถ. , ท.
                                      
ถ่มน้ำลายรดฟ้า – ประทุษร้ายต่อสิ่งที่สูงกว่าตน ตัวเองย่อมได้รับผลร้าย
ถอนรากถอนโคน – ทำลายให้สิ้นเสี้ยนหนาม


หมวด บ.


 
บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น – รู้จักผ่อนปรนเข้าหากัน มิให้กระทบกระเทือนใจกัน
บ่างช่างยุ – คนที่ชอบพูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกกัน
บ้าหอบฟาง – บ้าสมบัติ เห็นอะไร ๆ เป็นของมีค่าจะเอาทั้งนั้น, อาการที่หอบหิ้วสิ่งของพะรุงพะรัง
บุญทำกรรมแต่ง – บุญหรือบาปที่ทำไว้ในชาติก่อน เป็นเหตุทำให้รูปร่างหน้าตาหรือชีวิตของคนเราในชาตินี้ สวยงาม ดี ชั่ว เป็นต้น
ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น – ดูเหมือนรอบคอบถี่ถ้วน แต่ไม่รอบคอบถี่ถ้วนจริง
เถรส่องบาตร – คนที่ทำอะไรตามเขาทั้ง ๆ ที่ไม่รู้เรื่องรา


หมวด ป.

      
ปล่อยลูกนกลูกกา – ปล่อยให้เป็นอิสระ, ไม่เอาผิด
ปล่อยเสือเข้าป่า – ปล่อยศัตรูไปอาจกลับมาทำร้ายภายหลังอีก
ปลาหมอตายเพราะปาก – คนที่พูดพล่อยจนได้รับอันตราย
ปลาใหญ่กินปลาเล็ก – คนที่มีอำนาจหรือผู้ใหญ่ที่กดขี่ข่มเหงผู้อ่อนแอหรือผู้น้อย

หมวด ผ. ฝ


       
ผักชีโรยหน้า – การทำความดีเพียงผิวเผิน
ผ้าขี้ริ้วห่อทอง – คนมั่งมีแต่แต่งตัวซอมซ่อ
ผีซ้ำด้ำพลอย – ถูกซ้ำเติมเมื่อพลาดพลั้งลง หรือเมื่อคราวเคราะห์ร้าย


หมวด พ. ฟ.

     
พบไม้งามเมื่อยามขวานบิ่น – พบหญิงสาวที่ต้องใจเมื่อแก่
พระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก – ความทุกข์ยากเกิดซ้อน ๆ เข้ามาในขณะเดียวกัน


หมวด ย.
                                     
ยกตนข่มท่าน – พูดทับถมผู้อื่นแสดงให้เห็นว่าตัวเหนือกว่า
ยกภูเขาออกจากอก – โล่งใจ, หมดวิตกกังวล
ยกเมฆ – เดาเอา, นึกคาดเอาเอง; กุเรื่องขึ้น


หมวด ล.
 
ล้มหมอนนอนเสื่อ – ป่วยจนต้องนอนพักรักษาตัว
ลางเนื้อชอบลางยา – ของสิ่งเดียวกัน คนหนึ่งชอบแต่อีกคนหนึ่งกลับไม่ชอบ
ลิ้นกับฟัน – การระทบกระทั่งกันบ้างแต่ไม่รุนแรงของคนที่ใกล้ชิดกัน
ลิ้นตวัดถึงใบหู – พูดจาตลบตะแลงเชื่อไม่ได้


หมวด ส.
 
สร้างวิมานในอากาศ – ใฝ่ฝันถึงความมั่งมี, คิดคาดหรือหวังจะมี หรือเป็นอะไรอย่างเลิศลอย
สวยแต่รูป จูบไม่หอม – มีคูปร่างหน้าตาสวย แต่มีความประพฤติและกิริยามารยาทไม่ดี
สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ – ความสุขที่เกิดจากการทำความดี หรือความทุกข์ที่เกิดจากการทำความชั่วย่อมอยู่ในใจของผู้ทำเอง


หมวด ห.

  
หนักไม่เอา เบาไม่สู้ – ไม่มีความอดทนที่จะทำการงาน
หนามยอกเอาหนามบ่ง – ตอบโต้ด้วยวิธีการทำนองเดียวกัน
หน้าไหว้หลังหลอก – ต่อหน้าทำเป็นดี แต่ลับหลังก็นินทาหรือหาทางทำร้าย
หนีเสือปจระเข้ – หนีภัยอันตรายอย่างหนึ่งแล้วต้องพบภัยอันตรายอีกอย่างหนึ่ง


หมวด อ.
                                
อดเปรี้ยวไว้กินหวาน – อดใจไว้ก่อน เพราะหวังสิ่งที่ดีกว่าข้างหน้า
อ้อยเข้าปากช้าง – สิ่งหรือประโยชน์ที่ตกอยู่ในมือแล้วไม่ยอมคืน
อาบน้ำร้อนมาก่อน – เกิดก่อนจึงมีประสบการณ์มากกว่า
เอาทองไปรู่กระเบื้อง, เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ – โต้ตอบหรือทะเลาะกับคนพาล หรือคนที่มีฐานะต่ำกว่าเป็นการไม่สมควร
และนี่ก็คือ สำนวน สุภาษิตไทย ที่บ่งบอกได้ถึงวัฒนธรรมทางความคิดของคนไทยได้เป็นอย่างดี หวังว่าเด็กรุ่นใหม่ ๆ จะมีความรู้ความเข้าใจในสำนวน สุภาษิตไทย มากยิ่งขึ้นนะคะ^^
ที่มาของสำนวน
   

1 สำนวนที่เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่
ข้าวเหลือเกลืออิ่ม ทรัพย์ในดินสินในน้ำ บ้านเคยอยู่อู่เคยนอน

2 สำนวนเกี่ยวกับพืช
ขิงก็ราข่าก็แรง มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก ใบไม้ร่วงจะออกช่อ

3 สำนวนเกี่ยวกับสัตว์
โง่เง่าเต่าตุ่น ตีปลาหน้าไซ นกมีหูหนูมีปีก
4 สำนวนเกี่ยวกับนิทาน
กิ้งก่าได้ทอง กระต่ายตื่นตูม เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ชาวนากับงูเห่า
ความหมายของสำนวนไทย



เป็นที่ทราบกันดีว่า คนไทยเป็นพวกเจ้าบทเจ้ากลอน จะพูดจาหรือสั่งสอนใคร ก็มักจะอ้างเอาสำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่พูดต่อ ๆ กันมาตั้งแต่ครั้งโบราณมาเปรียบเทียบเปรียบเปรยเสมอ ซึ่งคำเหล่านี้มักจะเป็นคำที่คล้องจองกัน ทำให้จดจำได้ง่ายและเห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

           

ที่สำคัญ สำนวนไทยยังมีเสน่ห์ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยการดึงเอาสิ่งที่อยู่รอบตัวมาเปรียบเทียบ ดังนั้น เราอาจพูดได้ว่า สำนวนไทยมีความผูกพันกับชีวิตของเราอย่างใกล้ชิด และยังให้ข้อคิดสอนใจ ซึ่งสำนวนไทยนั้นมีอยู่มากมาย แต่เชื่อว่าเพื่อน ๆ หลายคนอาจยังไม่เข้าใจความหมายของ สำนวนไทย บางคำ หรือบางประโยค แม้จะได้ยินอยู่บ่อย ๆ ก็ตาม วันนี้ กระปุกดอทคอม มีเกร็ดความรู้เรื่องนี้มาฝากกันค่ะ
            สำนวน หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงได้ตายตัว สลับที่หรือตัดตอนไม่ได้ มีความหมายเชิงเปรียบเทียบลึกซึ้งโดยครอบคลุมไปถึง ภาษิต สุภาษิต และคำพังเพย โดยสามารถแยกได้เป็น...
ผู้จัดทำ

เด็กหญิง  กรกนก   ชื่นจิตร   เลขที่20
ชื่อเล่น  บิว   อายุ14
เกิดวันที่ 16 กุมภาพัธ์  2541
ชอบสี  เขียว
อาหารที่ชอบ   รวมมิตรทะเล





นางสาว  อารีรัตน์    คชลักษณ์  เลขที่ 48
ชื่อเล่น  เบียร์ อายุ15
เกิดวันที่ 24 สิงหาคม 2540
ชอบสี  ฟ้า
อาหารที่ชอบ  ต้มยำกุ้ง